เพชรห้ามโดนอะไร

เพชรห้ามโดนอะไร ถ้าไม่อยากให้เพชรหมอง คนรักเครื่องประดับต้องรู้

แม้ว่าเพชรจะเป็นอัญมณีที่แข็งที่สุดในบรรดาอัญมณีทั้งหมด หากคุณสวมใส่เครื่องประดับเพชรไปได้ไม่นานแล้วพบว่าเพชรหมองหรือมีรอย อาจเกิดจากการสัมผัสกับบางสิ่งที่ทำให้เพชรเปล่งประกายไม่สดใสเหมือนแต่ก่อน ที่คงไม่มีใครอยากให้เกิดกับตัวเองอยู่แล้วใช่ไหมคะ ว่าแต่เพชรห้ามโดนอะไร ดูแลทำความสะอาดอย่างไรให้เปล่งปลั่งเหมือนใหม่ วันนี้ไอรินทร์เจมส์มีข้อมูลดีๆ มาฝากค่ะ

เพชรห้ามโดนอะไรบ้าง

1. แรงกระแทก

แม้ว่าเพชรจะเป็นอัญมณีที่แข็งที่สุดอยู่ที่ระดับ 10 ตามมาตรวัดความแข็งของโมห์ส (Mohs Hardness Scale) มีโครงสร้างผลึกของเพชรเป็นแบบคาร์บอนบริสุทธิ์ (Cubic Crystal Structure) ที่เป็นระเบียบและแข็งมาก แต่โครงสร้างดังกล่าวก็มีแนวแตก (Cleavage Planes) ซึ่งเป็นจุดอ่อนตามธรรมชาติด้วยเช่นกัน หากเกิดอุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดแรงกระแทกอย่างรุนแรงบริเวณแนวแตก ก็อาจทำให้เพชรบิ่นหรือแตกได้ โดยเฉพาะเพชรที่เจียระไนแบบ Brilliant Cut ที่มีมุมและขอบบางมาก ซึ่งมีจุดเปราะบางบริเวณก้นเพชร (Culet) หรือมุม (Facet Edges) หรือการเจียระไนแบบ Princess Cut ที่มีขอบแหลมที่เปราะกว่าทรงกลม นอกจากนี้ยังรวมถึงเพชรที่มีตำหนิเล็กๆ อยู่ภายในอยู่แล้ว เช่น รอยแตกเล็กๆ หรือจุดฝ้า หากเพชรมีตำหนิได้รับแรงกระแทกสักหน่อย ก็มีผลทำให้เพชรเปราะบางง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน

2. สารเคมีบางชนิด

แม้ว่าเพชรจะทนทานต่อสารเคมีหลายชนิด แต่ก็ยังมีสารเคมีบางชนิดอาจสร้างความเสียหายให้แก่เพชรหรือทำให้ตัวเรือนที่ฝังเพชร โดยเฉพาะสารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรงจะมีทั้ง

น้ำยาล้างเพชร

เช่น กรดซัลฟิวริก (Sulfuric Acid) และกรดไนตริก (Nitric Acid) ที่แม้ว่าจะไม่สร้างความเสียหายต่อเพชรโดยตรง แต่อาจทำลายสารเคลือบบนผิวเพชรหรือทำปฏิกิริยากับสิ่งเจือปนในเพชร ทำให้ตัวเรือนโลหะเสื่อมสภาพไวขึ้น และกรดไฮโดรฟลูออริก  (Hydrofluoric Acid) ที่ออกฤทธิ์กัดกร่อนวัสดุหลายชนิด แม้ว่ามันจะไม่กัดเพชรโดยตรง แต่หากเป็นเพชรธรรมชาติที่มีธาตุอื่นปะปนอยู่ เช่น ไนโตรเจน โบรอน หรือโลหะบางชนิด ก็อาจเกิดปฎิกิริยาและทำให้เพชรเกิดจุดด่าง หมอง หรือมีพื้นผิวขรุขระได้ง่ายขึ้น

2.2 สารฟอกขาวและสารออกซิไดซ์

ได้แก่ คลอรีนเข้มข้น (Chlorine) และสารฟอกขาว (Bleach, Sodium Hypochlorite) แม้จะไม่กัดกร่อนเพชร แต่สารเหล่านี้อาจทำให้ตัวเรือนโลหะ เช่น ทองคำขาว (White Gold) เสื่อมสภาพและเปราะง่าย และหากคุณใช้สารฟอกขาวทำความสะอาดแหวนเพชรบ่อยๆ ก็อาจทำให้ขาหนามเตยสูญเสียความแข็งแรงในการยึดเกาะและหลวม ทำให้เพชรหลุดจากแหวนง่ายขึ้น

2.3 น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์รุนแรง

ได้แก่ แอมโมเนียเข้มข้น (Ammonia) และน้ำยาเช็ดกระจก โดยทั่วไปแล้วคุณสามารถใช้แอมโมเนียเข้มข้นเพียงเล็กน้อยทำความสะอาดเครื่องประดับเพชรได้ แต่หากคุณใช้เป็นประจำ ก็อาจทำให้สารเคลือบบนเพชรสึกกร่อนและทำให้ตัวเรือนโลหะเปราะบางลง

2.4 น้ำมันและสารบางชนิด

การใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบางชนิดที่มีส่วนผสมของน้ำมันซิลิโคน (Silicone Oil) หรือขี้ผึ้ง (Wax-Based Substances) แม้จะไม่ได้ทำปฎิกิริยาทำเพชรโดยตรง แต่อาจทำให้น้ำมันและคราบไขมันที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายจับตัวบนพื้นผิวของเพชร ทำให้เพชรหมองและลดความเปล่งประกายของเพชรได้

2.5 สารละลายอินทรีย์

ได้แก่ อะซีโตน (Acetone) และสารละลายทินเนอร์ (Paint Thinners) แม้จะไม่ทำร้ายเพชร แต่จะทำปฎิกิริยาและกัดกร่อนสารเคลือบผิวของเพชรหรือตัวเรือนโลหะบางประเภท ทำให้เพชรหมองง่ายขึ้น ยิ่งถ้าเพชรบางเม็ดมีรอยแตกและผ่านการอุดรอยร้าวด้วยเรซินโพลีเมอร์ หากเพชรสัมผัสกับอะซีโตนและทินเนอร์แล้วจะทำให้สารเหล่านี้เข้าไปละลายหรือเร่งการเสื่อมสภาพของเรซินโพลีเมอร์ ทำให้เพชรกลับมาร้าวได้อีกครั้งค่ะ

3. ความร้อนสูง

เพชรมีโครงสร้างผลึกแบบ Cubic Crystal Structure เมื่อคุณวางเพชรไว้ในพื้นที่ที่มีความร้อนสูงมาก (850°C ขึ้นไป) คาร์บอนของเพชรจะเริ่มทำปฏิกิริยากับออกซิเจน (Oxidation) ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) และทำให้พื้นผิวของเพชรไหม้จนกลายเป็นฝ้า ทำให้เพชรดูหมองลง หรือหากนำเพชรที่ผ่านความร้อนสูงมาอยู่มาแช่น้ำเย็นจัดทันที อาจทำให้เพชรเกิดปฎิกิริยาช็อกความร้อน (Thermal Shock) ก็อาจทำให้เพชรร้าว และหากเพชรของคุณมีรอยร้าวภายในหรือเป็นเพชรที่ผ่านการเติมรอยร้าวมาก่อน แม้จะเป็นรอยเพียงเล็กน้อย แต่หากโดนความร้อนสูงก็อาจทำให้รอยร้าวขยายเป็นวงกว้างได้เช่นกัน นอกจากนี้ความร้อนยังทำให้ตัวเรือนที่ทำจากทองคำขาวหรือแพลตินัมเปลี่ยนสี หรือทำให้ขาหนามเตยหลวม ส่งผลให้เพชรหลุดออกจากตัวเรือนได้อีกด้วย

4. รังสี UV

การอยู่ในพื้นที่กลางแจ้งเป็นเวลาหลายชั่วโมงติดต่อกันโดยไม่สวมอุปกรณ์ป้องกัน อาจทำให้รังสี UV เข้าไปกระตุ้นโครงสร้างอะตอมของเพชรและเกิดการจัดเรียงตัวของอะตอม ทำให้เพชรบางเม็ดเกิดการเปลี่ยนแปลงของสี หรือสูญเสียความเงางามไปชั่วคราว และเพชรบางเม็ดเองก็มีคุณสมบัติเรืองแสงภายใต้รังสี UV (Fluorescence) จึงเรืองแสงเป็นสีน้ำเงิน สีเขียว หรือสีเหลือง แต่หากเพชรมี Fluorescence ที่แรงเกินไป อาจทำให้เพชรขุ่นมัวหรือดูเหมือนมีฟิล์มบางๆ เคลือบอยู่ ทำให้เพชรดูหมองลง นอกจากนี้หากเพชรของคุณผ่านการซ่อมรอยร้าวมาก่อน รังสี UV จะเร่งการเสื่อมสภาพที่ทำให้เพชรหมองลงได้ด้วยค่ะ

5. น้ำมันและสิ่งสกปรก

ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันจากผิวหนัง, ครีมบำรุงผิว หรือเครื่องสำอาง หรือแม้กระทั่งสิ่งสกปรกจากภายนอก เช่น ฝุ่น, คราบอาหาร หรือสารอื่น ๆ ที่สัมผัสกับเพชร ล้วนแต่ไปสะสมอยู่ตามเพชรและก่อให้เกิดฟิล์มบาง ๆ ที่ปิดกั้นแสง ทำให้เพชรดูหมองลงหรือเกิดรอยขีดข่วนตามมา

6. การขูดขีดจากเพชรด้วยกันเอง

แม้ว่าเพชระจะทนทานต่อการเกิดรอยขีดข่วน แต่หากคุณเก็บรักษาไม่ดีพอ ใส่รวมกับเครื่องประดับเพชรชิ้นอื่น ก็อาจทำให้เพชรสัมผัสกับเพชรด้วยกันเองและเกิดรอยขีดข่วนตามมาค่ะ

ดูแลรักษาและทำความสะอาดเพชรอย่างไรไม่ให้เกิดรอยตามมา

  • ทำความสะอาดเป็นประจำ โดยนำน้ำอุ่นผสมกับน้ำยาล้างจานในอัตราส่วน 1:1 แล้วใช้แปรงขนนุ่มแปรงเบาๆ บนเพชรเพื่อขจัดคราบสิ่งสกปรกออก หลังจากขัดเสร็จแล้วให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดเพชรให้แห้ง จากนั้นวางผึ่งลมไว้ประมาณ 30 นาที แล้วค่อยเก็บเข้ากล่องเครื่องประดับ
  • หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของสารเคมีรุนแรง เช่น อะซีโตน, ทินเนอร์ ที่อาจทำลายสารเคลือบเพชรและทำให้เพชรหมอง
  • เก็บในกล่องเครื่องประดับที่มีซับในนุ่ม โดยเก็บแยกออกจากเครื่องประดับชิ้นอื่น เพื่อป้องกันการเกิดรอยขีดข่วน
  • ถอดเครื่องประดับเพชรทุกครั้ง เมื่อทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมี, น้ำมัน, หรือเครื่องสำอาง
  • นำเครื่องประดับเพชรไปให้ช่างอัญมณีตรวจเป็นประจำ เพื่อป้องกันการเกิดรอยร้าวในระยะยาว

และนี่คือคำแนะนำที่ไอรินทร์เจมส์นำมาฝาก หวังว่าทุกคนคงจะได้ความรู้และนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องประดับเพชรของตัวเองกันนะคะ แต่หากคุณไม่แน่ใจหรือไม่มีเวลาดูแลเครื่องประดับเพชรของคุณ ก็สามารถใช้บริการ Jewelry one stop service จาก Irin Gems ของเราได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นซ่อม, ชุบ, ขัด หรือทำความสะอาดก็ตาม เรามีทีมงานผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์มากกว่า 10 ปี มาพร้อมเครื่องมือที่ทันสมัย ที่จะช่วยให้เครื่องประดับเพชรของคุณกลับมาเปล่งประกายสดใส เหมือนวันแรกซื้อมาได้อย่างแน่นอนค่ะ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: Jewelry one stop service คืออะไร? ผลิตเครื่องประดับเพชร พลอยอัญมณีจากไอรินทร์เจมส์

บทความที่น่าสนใจ

ทําความสะอาดเพชร ที่ไหนดี ทำไมต้อง Jewelry one stop service จาก Irin Gems

ไอรินทร์เจมส์ เป็นร้านของหลุดจำนำ นนทบุรี ที่มีทั้งเครื่องประดับเพชรแท้, พลอยแท้ และของหลุดจำนำที่มีตัวตนมานานเกือบ 2 ทศวรรษ ทางเราไม่ใช่ร้านที่ไปรับของที่อื่นมาขายเพียงอย่างเดียว แต่เรามีโรงงานผลิตเป็นของตัวเอง จึงควบคุมกระบวนการผลิตเองทุกขั้นตอนและแบ่งกระจายสินค้าสู่ตลาดเครื่องประดับไทย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราสามารถดูแลเครื่องประดับที่มาจากร้านเพชรร้านทองอื่นได้ดีเหมือนเป็นสินค้าของร้านเราเอง เราคือ B2B2C (Business-to-Business-to-Customer) ที่มีบริการ jewelry one stop service ตอบโจทย์ครบทุกปัญหาเกี่ยวกับเครื่องประดับตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตตัวเรือน ไปจนถึงเครื่องประดับสำเร็จรูป

นอกจากนี้เรายังมีทีมดีไซน์ที่พร้อมออกแบบเครื่องประดับได้ ไม่ว่าจะซ่อม, ชุบ, ขัด หรือล้างที่ได้มาตรฐานโดยช่างผู้เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ทันสมัย เพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาตรงตามความต้องการของคุณมากที่สุด ที่สำคัญเรายังเป็นอาณาจักรของหลุดจำนำที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งส่งตรงจากโรงรับจำนำทั่วเมืองไทยที่มีการอัปเดตสินค้าทุกอาทิตย์อีกด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้คุณได้รับความพึงพอใจสูงสุดจากการใช้บริการกับเราค่ะ

แชร์บทความ
Line

Your cart

No products in the cart.